การตั้งค่าการยืนยันตัวตนของผู้ใช้
การยืนยันตัวตนของผู้ใช้แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ User Code authentication, Basic authentication, Windows authentication และ LDAP authentication หากต้องการเปิดใช้งานการยืนยันตัวตนของผู้ใช้ โปรดเลือกวิธีการยืนยันตัวตนบนแผงควบคุม จากนั้นทำการตั้งค่าระบบตามต้องการ โดยการตั้งค่าจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับวิธีการยืนยันตัวตน กำหนดข้อมูลการยืนยันตัวตนของผู้ดูแลระบบ จากนั้นกำหนดข้อมูลการยืนยันตัวตนของผู้ใช้
หากไม่สามารถเปิดใช้งานระบบยืนยันตัวตนของผู้ใช้ได้เนื่องจากเกิดปัญหาเกี่ยวกับฮาร์ดดิสก์หรือเครือข่าย สามารถใช้สิทธิ์ของผู้ดูแลระบบเพื่อเข้าใช้งานเครื่อง และปิดใช้ระบบยืนยันตัวตนของผู้ใช้ได้ โดยควรใช้วิธีนี้ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้งานเครื่องอย่างเร่งด่วน
ไม่สามารถใช้วิธีการยืนยันตัวตนหลายวิธีพร้อมกันได้
ขั้นตอนการกำหนดค่า | รายละเอียด |
---|---|
การกำหนดค่าระบบยืนยันตัวตนสำหรับผู้ดูแลระบบ | |
การกำหนดค่าระบบยืนยันตัวตนสำหรับผู้ใช้ | กำหนดข้อมูลการยืนยันตัวตนของผู้ใช้ ระบบการยืนยันตัวตนของผู้ใช้แบ่งออกเป็น 4 ประเภท: |
ประเภท | รายละเอียด |
---|---|
User Code authentication | ยืนยันตัวตนโดยใช้ User Code 8 หลัก การยืนยันตัวตนจะใช้กับแต่ละ User Code ไม่ได้ใช้กับผู้ใช้แต่ละคน โดยจำเป็นต้องเพิ่ม User Code ลงใน Address Book ของเครื่องก่อนที่จะใช้งาน |
Basic authentication | ยืนยันตัวตนโดยใช้ Address Book ของเครื่อง โดยจำเป็นต้องเพิ่มผู้ใช้ใน Address Book ของเครื่องก่อนที่จะใช้งาน การยืนยันตัวตนสามารถใช้ได้กับผู้ใช้แต่ละคน |
Windows authentication | ยืนยันตัวตนโดยใช้ระบบควบคุมโดเมนของเซิร์ฟเวอร์ Windows ที่อยู่บนเครือข่ายเดียวกันกับเครื่อง การยืนยันตัวตนสามารถใช้ได้กับผู้ใช้แต่ละคน |
LDAP authentication | ยืนยันตัวตนโดยใช้เซิร์ฟเวอร์ LDAP ที่อยู่บนเครือข่ายเดียวกันกับเครื่อง การยืนยันตัวตนสามารถใช้ได้กับผู้ใช้แต่ละคน |
อีเมลแอดเดรสของผู้ใช้ที่ได้รับจากระบบการยืนยันตัวตนผ่าน Windows หรือ LDAP จะสามารถนำไปใช้เป็นแอดเดรสของผู้ส่ง ("From") เมื่อส่งอีเมลในโหมด Scanner หรือส่งต่อแฟกซ์ที่ได้รับได้ เพื่อเป็นการป้องกันการปลอม ID
กรณีมีการสลับวิธีการยืนยันตัวตนของผู้ใช้
บัญชี User Code ที่มีไม่เกิน 8 หลัก ซึ่งใช้สำหรับยืนยันตัวตนด้วย User Code สามารถใช้เป็นชื่อล็อกอินผู้ใช้ได้ แม้ว่าจะมีการสลับจากการใช้งาน User Code authentication ไปเป็น Basic authentication, Windows authentication หรือ LDAP authentication ก็ตาม ในกรณีนี้ ระบบจะตั้งค่าให้รหัสผ่านเป็นช่องว่าง เนื่องจากการยืนยันตัวตนด้วย User Code จะไม่มีการใช้รหัสผ่าน
หากสลับการใช้งานการยืนยันตัวตนไปใช้วิธีการยืนยันตัวตนอื่นๆ จากภายนอก (Windows authentication หรือ LDAP authentication) จะไม่สามารถเปิดใช้ระบบยืนยันตัวตนได้ หากอุปกรณ์ที่มีระบบยืนยันตัวตนจากภายนอกนั้นไม่มีข้อมูลบัญชี User Code บันทึกไว้ อย่างไรก็ตาม บัญชี User Code จะถูกเก็บบันทึกไว้ใน Address Book ของเครื่องแม้ว่าจะเกิดข้อผิดพลาดในการยืนยันตัวตนขึ้นก็ตาม
เพื่อความปลอดภัย หากมีการสลับจากระบบยืนยันตัวตนด้วย User Code ไปเป็นวิธีการยืนยันตัวตนแบบอื่น ควรลบบัญชีที่ไม่ได้ใช้งานหรือตั้งรหัสผ่านสำหรับการล็อกอิน ดูรายละเอียดเกี่ยวกับการลบบัญชีผู้ใช้ได้ที่หัวข้อ "การชาร์จหรือลบรหัสผู้ใช้" ใน "ผู้ใช้งานครั้งแรก" สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับการเปลี่ยนรหัสผ่าน โปรดดูที่การกำหนดชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านสำหรับล็อกอิน
หลังจากเปิดเครื่องเรียบร้อยแล้ว ระบบอาจไม่แสดงคุณลักษณะเพิ่มเติมไว้ในรายการของระบบยืนยันตัวตนของผู้ใช้ ในหน้าจอ User Authentication Management ในกรณีนี้ ให้รอสักครู่แล้วเปิดหน้าจอ User Authentication Management ใหม่อีกครั้ง
นอกจากนี้ ยังสามารถกำหนดการยืนยันตัวตนของผู้ใช้ผ่านเว็บเบราว์เซอร์บนคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย (ใช้ Web Image Monitor ที่ติดตั้งในคอมพิวเตอร์) สำหรับรายละเอียด โปรดดูวิธีใช้ (Help) ของ Web Image Monitor